ไม่มีหมวดหมู่

ประวัติวอลเลย์บอลชายหาด

         ในปี ค.ศ. 1920 มีการกล่าวขวัญถึงการเล่นวอลเลย์บอล 6 คน บนชายหาดในฮาวาย (Hawaii) แต่ไม่มีการยืนยันที่แน่นอน ซึ่งในเวลานั้นกีฬาประเภทนี้มีจุดกำเนิดหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ซานตา มอนิก้า (Sawta Monaca) รัฐแคลิฟอร์เนีย (Calafonia) สหรัฐอเมริกา มีลักษณะเหมือนวอลเลย์บอลในร่ม คือเล่นกันฝ่ายละ 6 คน (6 คนต่อ 6) ในปี ค.ศ. 1927 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มเล่นวอลเลย์บอลชายหาด และในปี ค.ศ. 1930 กีฬาประเภทนี้ก็ได้แพร่หลายไปในหลายๆ ประเทศในยุโรปปีเดียวกันนี้เองทางสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเล่นระบบฝ่ายละ 4 คน (4 ต่อ 4) และระบบฝ่ายละ 3 (3 ต่อ 3) การเล่นวอลเลย์บอลชายหาดในครั้งนั้น ยังได้มีการกำหนดกติกาสำหรับการตบ การสกัดกั้นและการรับลูกที่แน่นอน ในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการจัดการแข่งขันแบบทีมละ 2 คน ขึ้นอย่างเป็นทางการ (เป็นจุดเริ่มต้นของระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ณ ชายหาดสเตท- (State)รัฐแคลิฟอร์เนีย… Read more →

วอลเลย์บอลชายหาด

วอลเลย์บอลชายหาด การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ลักษณะเฉพาะ ผู้เล่นในทีม 2 คน ผสม เดี่ยวและผสม หมวดหมู่ กีฬากลางแจ้ง อุปกรณ์ ลูกบอล กีฬาโอลิมปิก 1996   วอลเลย์บอลชายหาด (อังกฤษ: Beach volleyball) เป็นกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง โดยใช้ผู้เล่นประเภททีม แต่ละทีมจะมีผู้เล่นเพียง 2 คน ไม่มีผู้เล่นสำรอง ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น เล่นบนพื้นสนามทราย บริเวณริมชายหาดทะเล โดยมีตาข่ายกั้นกลางระหว่างทีมแข่งขัน อาศัยการเล่นด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ ห้ามพักลูก หรือเล่นลูกสองจังหวะ ยกเว้นเป็นการรับลูกตบที่มาด้วยความรุนแรง จึงจะอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถพักลูกได้เพียงเล็กน้อย ส่งลูกบอลให้ทีมที่ร่วมแข่งโดยการตีลูกบอลด้วยมือหรือแขนเพียงข้างเดียว เพื่อให้ลูกบอลข้ามตาข่ายไปลงยังแดนของคู่แข่งขัน ทีมใดตบลูกให้ฝั่งตรงข้ามรับไม่ได้ ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ ประวัติ ในทศวรรษที่ 50 รัฐแคลิฟอร์เนียได้มีการจัดการแข่งขันแบบทีมละ 2 คน ขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ ชายหาดสเตท ได้จัดระบบการแข่งขันรูปแบบเซอร์กิต ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และบราซิลได้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกขึ้น ต่อมาทศวรรษที่ 60 ได้มีการกำหนดกติกาเกี่ยวกับเรื่องการตบ และการสกัดกั้นใหม่ แต่ยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นสากล ในปี ค.ศ. 1976 ที่ชายหาดสเตท และแปซิฟิก… Read more →

เทคโนโลยีทางการกีฬา

เทคโนโลยีทางการกีฬา เทคโนโลยีทางการกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประดิษฐ์การใช้เครื่งมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริมตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่ม ศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬารวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางด้านเทคนิกทักษะ การประเมินผลและรายงานผลการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ถูกต้องรวดเร็วให้กับผู้ฝึกสอนกีฬา นักกีฬา และผู้ชม Read more →

เวชศาสตร์การกีฬา

เวชศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด Read more →

จิตวิทยาการกีฬา

จิตวิทยาการกีฬา จิตวิทยาการกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬารวมถึงการตัดสินใจในแต่ละสถาณการณ์ ของการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้องเป็นผลดีต่อเกมส์การแข่งขันและการแสดงออกซึ่งทักษะและความสามารถของนักกีฬาได้อย่างสอดคล้อง สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น Read more →

โภชนาการทางการกีฬา

โภชนาการทางการกีฬา โภชนาการทางกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตร และคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขันซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวการเก็บสำรองพลังงานไว้ในกล้ามเนื้อ การชดเชยพลังงานในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันและภายหลังการฝึกซ้อมแข่งขันซึ่งจะช่วยเสริมโครงร่างและความสามารถของร่างกายให้คงสภาพแข่งแกร่งยิ่งขึ้น Read more →

ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา

ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้หลักการในการในการกำหนดความหนักเบา รูปแบบวิธีการฝึก เข้าไว้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงอายุ เพศ วัย ประสบการณ์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งระบบพลังงานสมรรถภาพทางกาย เฉพาะประเภทกีฬา ความสามารถในการเรียนรู้รับรู้ของนักกีฬาแต่ละบุคคล เพื่อนำไปสู่การวางแผนการฝึกซ้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล Read more →

ชีวกลศาสตร์

ชีวกลศาสตร์ ชีวกลศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อต่อ เพื่อนำไปสู่การใช้แรง ในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติทักษะ อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในแต่ละชนิดหรือประเภทกีฬา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านเทคนิคทักษะกีฬาแต่ละบุคคลได้อย่างกลมกลืนกับระดับความสามารถที่เป็นจริงของนักกีฬาผู้นั้นมิใช้ต้องทำตามหรือเลียนแบบแช้มป์ โดยที่มิได้เรียนรู้สภาพพื้นฐาน การฝึกซ้อมและความแตกต่างของร่างกายในแต่ละบุคคล Read more →

สรีรวิทยา

สรีรวิทยา สรีรวิทยา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานหรือการทำหน้าที่ของอวัยวะระบบต่างๆของร่างกายซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้น ได้ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทกีฬาและนักกีฬาแต่ละบุคคล เช่น ความสามารถในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดและระบบพลังงานที่ใช้ในการแข่งขัน แต่ละประเภทกีฬา เป็นต้น รวมทั้งสาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย Read more →

กายวิภาคศาสตร์

กายวิภาคศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างสัดส่วนของร่างกายนักกีฬาแต่ละคน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท เป็นต้น Read more →

Free Web Hosting